วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

" โกรธคนไม่ยอมรับผิด " ปรึกษาปัญหา กับ พระไพศาล วิสาโล

บังเอิญ ช่วงนี้ ศาลิน มีปัญหา กับคนคนหนึ่งค่ะ ที่ เราคิดว่า เขานั้นผิด และเรานั้นถูก หรือ ถึงแม้ เราผิดแต่เรากล้าคุยกล้าเคลียร์ แต่ฝ่ายไม่คุยไม่เคลียร์กลายเป็น ฝ่ายตรงข้าม … ทำให้ ศาลิน โกรธ มาหลายวัน แต่พอเวลาผ่านไป เราก็เริ่ม คิด ปล่อยวาง มากขึ้นค่ะ จนมาเจอกับ หัวข้อคำปรึกษานี้ อ่านแล้วโดนใจ เลยขอนำมาเก็บบันทึกไว้ เพื่อให้หลายๆคนได้อ่านกันด้วยค่ะ

" โกรธคนไม่ยอมรับผิด "

ทะเลาะ


Patcharapapon Gosolitthisak - กราบเรียนท่านอาจารย์ครับ อยากถามอาจารย์เรื่อง ความโกรธครับ เวลาเราโกรธที่คนอื่นทำผิดต่อเราแล้วเขายังไม่รู้ว่าเขาทำผิด ยิ่งทำให้เราโกรธมากขึ้นๆ เพราะเราเองก็มั่นใจว่าเราทำไม่ผิด แต่เขาก็ยังไม่ยอมรับว่าเขาผิด ทำให้อารมณ์โกรธรุนแรงขึ้น ก็เกิดการทะเลาะกัน จะแก้ไขอย่างไรดีครับ เป็นบ่อยมาก

 


พระไพศาล วิสาโล - คุณโกรธคนที่ทำผิดต่อคุณ แต่ก็ควรตระหนักว่า เมื่อใดที่คุณมีความโกรธ คุณก็กำลังทำผิดต่อตัวคุณเอง นั่นคือ คุณกำลังเบียดเบียนตัวเอง เผาลนจิตใจของตนเอง ใช่แต่เท่านั้น เมื่อโกรธมาก ๆ คุณก็จะลืมตัว จนเผลอทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องกับผู้อื่น เช่น ใช้ถ้อยคำรุนแรง นำไปสู่การทะเลาะวิวาทกัน หรือทำสิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า คนที่โกรธตอบผู้อื่นนั้น เป็นคนโง่ที่ก่อโทษทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
ยิ่งคุณเพ่งโทษคนอื่นมากเท่าไหร่ คุณก็จะลืมดูตัวเองมากเท่านั้น จนอาจเผลอทำอย่างเดียวกับเขา หรือยิ่งกว่าเขา ดังนั้นอย่างแรกที่คุณควรทำก็คือ หันมามองตนเอง โดยเตือนตนเองว่า ยิ่งมองเห็นคนอื่นเป็นปัญหามากเท่าไร ยิ่งต้องระวังตัวเองไม่ให้เป็นปัญหาเสียเอง ขณะเดียวกันเมื่อรู้ว่าตัวเองโกรธ ก็ควรหันมาระงับความโกรธ เช่น หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ สัก ๑๐ ครั้ง โดยตามลมหายใจไปด้วย ระหว่างนั้นจะแผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยก็ดี ว่าอย่าเอาความโกรธมาเผาลนจิตใจตนเองให้เป็นทุกข์เลย ขอให้ใจสงบเย็นเป็นสุขเถิด


หากคุณมีเมตตาให้แก่ตัวเองได้ ต่อไปก็จะมีเมตตาต่อเขาด้วย คนที่ทำผิดแล้วไม่รู้ตัวว่าทำผิดนั้น น่าเห็นใจมาก เพราะนอกจากเขาจะไม่มีสติและปัญญาแล้ว อาจหลงทำสิ่งที่ก่อผลเสียต่อตัวเอง ดังนั้นจึงควรที่คุณจะเห็นใจเขาและมีเมตตาต่อเขา

 

ที่มาเนื้อหา พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

ที่มาภาพ http://sakid.com

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ว่ากันด้วย บทสวดมนต์ บท ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นะคะ

ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร  เป็นการแสดงปฐมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อ วันเพ็ญ เดือน ๘ (อาสาฬหบูชา) เพื่อโปรดเหล่าปัญจวคีย์ทั้ง ๕ คือ อัญญาโกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ
ซึ่งต่อมาท่านอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้รับการอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา จึงทำให้วันนี้ มีพระรัตนตรัยครบองค์สาม
สาระสำคัญขององค์ธรรมนี้ คือ อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค)
ซึ่งถือเป็นองค์ธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา

Download เอกสารบทสวดธรรมจักร ฉบับ แปลไทย


สมัยเด็กๆ ศาลินคุ้นเคยกับบทสวดมนต์บทนี้ ในฐานะ ที่อยู่ในหนังสือสวดมนต์ที่ย่ามีค่ะ  แต่ไม่เคยคิดอยากสวด … โตมา ก็ยังเห็นอยู่ตามหนังสือสวดมนต์ส่วนมาก แต่ก็ยังไม่เคยคิดสวดเหมือนเคยค่ะ เพราะรู้สึกมาตลอดว่า บทนี้ ยาวมาก … เวลาสวดมนต์ ก็จะสวดแต่ บท พาหุง เป็นหลัก แล้วก็ พระปริตร บทอื่น บ้าง เล็กๆน้อยๆ คละกันไป แต่ไม่เคยคิดอยากจะสวดธรรมจักรเลย  ฮ่าๆๆๆ
หลังจากที่เริ่มเข้าวัด  เมื่อ ปี 2550 ศาลินก็จะได้สวดบทธัมจักร นี้บ้าง ในเวลาที่ วัดมีการจัดให้สวดบทนี้ แต่ถ้า อยู่บ้านคนเดียวนี่ แทบไม่ได้สวดเลยค่ะ เพราะเป็นคนที่ไม่ชอบทำอะไรยาวๆ นานๆ  ..จัดว่า ขี้เกียจ นั่นแหละ ^ ^
ในช่วงหนึ่ง ที่ศาลิน  ผิดหวังเรื่องความรักอย่างสูง ก็ได้มีโอกาส ไปหาพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่าน ก็เมตตา สอน และ ช่วยศาลิน ให้ความกระจ่าง ในเรื่องของเวรกรรมที่ทำกันมากับคนๆนั้น  ค่ะ พร้อมกับ บอกศาลิน ให้สวดมนต์มากๆ โดยเฉพาะบทกรณียเมตตาสูตร กับ บทธัมมจักร นั่นจึงเป็นครั้งแรกที่ศาลินเริ่มสวดบทนี้ด้วยตัวเองที่บ้าน ประกบกับในช่วงนั้น นอกจากจะมีพระอาจารย์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวแล้ว ก็ ยังมี ผู้ที่มีใจธรรมะ มาช่วยให้คำปรึกษากันมากมาย หลายๆท่าน แนะนำ ศาลินว่า .. ให้ลอง สวดบทธัมมจักร สิ เอาให้ครบ 7 วัน แล้วอธิษฐานเอา เผื่อว่าแฟนจะกลับมา … ศาลิน ก็เลยเริ่มมีแรงจูงใจมากขึ้น  ก็ สวดค่ะ สวดทุกวัน  แต่ตอนนั้น สวดไม่ครบเจ็ดวันหรอกนะคะ  พอจะครบๆ ก็มีเหตุให้ต้องเว้น เริ่มต้นนับใหม่ตลอด สวดไม่ครบ 7 วันสักที  เลยยังพิสูจน์ไม่ได้ค่ะ ว่า  ถ้าสวดครบ 7 วัน แล้ว จะให้ผลดีอย่างไร แล้วจะได้ดังคำอธิษฐานไหม แต่ช่วงนั้น ก็รู้สึกดี จิตใจสงบ และมีกำลังใจดีขึ้นมามากค่ะ นี่คงเป็นผลที่ได้โดยตรงจากการสวดมนต์   ส่วน การสวดครบ 7 วัน แล้ว จะอธิษฐานอะไรสมหวังนั้น คงเป็นกำไรชีวิตค่ะ   เมื่อเวลาผ่านไป จิตใจดีขึ้น ศาลิน ก็กลับมาขี้เกียจ สวดบทธัมมจักร อีกตามเคย คงเหลือไว้เพียง บท กรณียเมตตาสูตร ค่ะ สวดจนท่องจำได้ขึ้นใจ อิอิ
จนมาเมื่อไม่นานมานี้ กลางปี 2555  ศาลิน ได้ เปิดวิทยุคลืนสังฆทานธรรมค่ะ  89.25 เวลาประมาณ หนึ่งทุ่ม ทางคลื่น ได้เปิดเสียงสวดมนต์ บทธัมมจักร ค่ะ  ศาลินก็นั่งฟังไปเพลินๆ มีความรู้สึกว่า เสียงบทสวดนี้ เพราะจัง น่าสวดมากๆ เป็น บทสวดธัมมจักร แปล ค่ะ ซึ่งฟังดูแล้วไม่น่าเบื่อเหมือนที่เคยรู้สึก ศาลิน ก็เลยเริ่มหาดาวน์โหลดคลิปเสียงสวดมนต์นั้นค่ะ  แล้วก็หา บทสวดแปล  เพื่อพิมพ์ออกมาไว้สวด แต่  ก็ ไม่มีบทสวดที่ตรงตามคลิปเสียงสวดแบบ เป๊ะๆเลยสักบท  ศาลิน เลยต้องเอามานั่ง พิมพ์ ดัดแปลงเอาใหม่ค่ะ เพื่อให้ตรงกับ เสียงสวดมนต์บทนั้น
แล้วศาลินก็เริ่มสวดค่ะ ด้วยความชอบ  เพราะว่า บทสวดนั้น เพราะดี เวลาสวดก็จะเป็นคลิปเสียงไปด้วย สวดไปพร้อมๆกันเลย  ศาลินสวดบ่อยค่ะ เกือบทุกวันในตอนนั้น เริ่มรู้สึกว่า ชีวิต มีสิ่งดีๆเข้ามาอย่างที่เราคาดไม่ถึง  สิ่งที่ ไม่คาดคิดว่าจะได้ ก็ได้ค่ะ เงินที่ไม่คิดว่าจะหาได้  อยู่ดีๆ ก็มีมาอย่างนึกไม่ถึง จากที่กลุ้มๆใจ ก็ เบาใจ สบายใจขึ้นมาก นึกถึงคำที่เคยมีคนบอกให้ครบ 7 วัน ก็เลยเริ่มคิด  จะตั้งใจสวดให้ ครบ 7 วัน สักครั้ง ลองดูซิ .. แต่เชื่อไหมคะ  จนป่านนี้ ยังไม่เคยครบเจ็ดวันติดต่อกันสักที ฮ่าาาา Very Happy  ทุกวันนี้ ศาลิน สวดบทนี้อยู่เสมอค่ะ เหมือนเป็นกำลังใจ เวลาท้อแท้ๆ ก็จะมานั่งสวดบทธัมมจักร เพื่อเรียกพลังให้ตนเองค่ะ   ศาลิน มีประสบการณ์ดีๆ กับ บทสวด บทนี้ ศาลิน เลยอยากแบ่งปันให้เพื่อนๆค่ะ เผื่อว่า ฟังคลิปเสียงสวดแล้วจะชอบกัน อยากสวด  ศาลิน ก็มีบทสวด ที่ตรงตามคลิปเสียงมาไว้ให้ค่ะ เพื่อนๆจะได้ไม่ต้อง  มานั่ง งง  ไรว้าาาาาา ไม่เห็นตรงกับเสียงสวดเลย  พาลให้ไม่อยากสวดเอาดื้อๆ
ศาลิน เคยได้อ่านประสบการณ์จากบางท่าน เขาว่า ไว้ว่า  อานุภาพของการสวด ธัมจักกัปปวัตนสูตร นี้ แรงค่ะ  สวดแล้ว ผีจะแห่มา ….   เหมือนมาขอส่วนบุญจากผู้ที่สวด  หลังจากสวดอย่างจริงจังได้ไม่นาน ก็ปรากฏว่ามีวิญญาณถูกไฟไหม้..ไม่มีเสื้อผ้ามาขอส่วนบุญ... นอกจากผี ก็ รวมไปถึง เทวดา มาร พรหม ด้วยนะคะ สวดแล้ว เทวดาชอบค่ะ จริงเท็จประการใด ศาลินไม่ทราบ คงต้องแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละท่านค่ะ  แต่ขอแนะนำว่า ก่อนสวด และ หลังสวด  ควร กล่าวเชิญ(บทอัญเชิญเทวดา) และ สวดส่ง(ทุกขัปปัตตา) เทวดากันด้วยนะคะ    ท่านใด มีประสบการณ์ ทางด้านสวดมนต์ ไม่ว่าจะบทธัมมจักร หรือ บทไหน มาแชร์กันบ้างนะคะ Very Happy

Download เอกสารบทสวดธรรมจักร ฉบับ แปลไทย



บทสวดธรรมจักร
อนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตระ สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง

เหมือนจะทรงประกาศธรรมที่ใครๆยังมิได้ให้เป็นไปแล้วในโลก ให้เป็นไปโดยชอบแล้ว ได้ทรงแสดงซึ่งพระอนุตตะระธรรมจักรในกร

ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง

คือวัตรพระองค์ตรัสรู้ ซึ่งพิสูจน์ 2 ประการ และ ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง แลปัญญาอันรู้เห็นในอริยสัจทั้ง4ของพระองค์หมดจดแล้วในธรรมจักรใด

เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เสฯ

เราทั้งหลาย จงสวดธรรมจักรนั้น ที่พระองค์ชื่อธรรมราชา ทรงแสดงแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระทั้งอสีติได้ร้อยกรองไว้โดยบาลีไวยากรณ์เทอญ


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  

เอวัมฺเม สุตัง
ข้าพเจ้า ได้ฟังมาแล้วดังนี้
เอกัง สมยัง ภควา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
 สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย 
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญฺจะวัคฺคิเย ภิกฺขู อามันฺเตสิ 
 ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคียให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า
เทฺวเม ภิกฺขะเว อันฺตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างเหล่านี้
ปัพฺพะชิเต นะ นะ เสวิตัพฺพา
อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลฺลิกานุโยโค
คือการประกอบตนให้พัวพันด้วย กาม ในกาม ทั้งหลายนี้ใด
หิโน เป็นธรรมอันเลว
คัมฺโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน
โปถุชฺชะนิโก เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา
อะนะริโย
ไม่ใช่ของตน ไปจากข้าศึกคือกิเลส
อะนัตฺถะสัญฺหิโต
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตฺตะกิละมะถานุโยโค
คือการประกอบด้วยความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เหล่านี้ใด
ทุกฺโข
ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ
อะนะริโย
ไม่ทำผู้ประกอบ ให้ไปจากข้าศึกคือกิเลส
อะนัตฺถะสัญฺหิโต
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง
เอเต เต ภิกฺขะเว อุโภ อันฺเต อะนุปะคัมฺมะ มัชฺฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็น กลาง ไม่เข้าไปใกล้ ที่สุด สองอย่างนั่นนั้น
ตะถาคะเตนะ อภิสัมฺพุทฺธา
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักฺขุกะระณี
กระทำดวงตา คือ

ญาณะกะระณี
กระทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ

อะภิญฺญายะ
เพื่อความรู้ยิ่ง

สัมโพธายะ
เพื่อความรู้ดี

นิพฺพานายะ สังวัตตะติ
เพื่อความดับ
กะตะมา จะ สา ภิกฺขะเว มัชฺฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลาง นั้นเหล่าไหน
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทฺธา
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักฺขุกะระณี
กระทำดวงตา คือ

ญาณะกะระณี
กระทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ

อะภิญญายะ
เพื่อความรู้ยิ่ง

สัมฺโพธายะ
เพื่อความรู้ดี

นิพฺพานายะ สังวัตฺตะติ
เพื่อความดับ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังคิโก มัคฺโค 
 ทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง
เสยฺยะถีทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
(๑) สัมฺมาทิฏฺ ฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ
(๒) สัมฺมาสังฺกัปฺโป
ความดำริชอบ
(๓) สัมฺมาวาจา
วาจาชอบ
(๔) สัมฺมากัมฺมันฺโต
การงานชอบ
(๕) สัมฺมาอาชีโว
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
(๖) สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ
(๗) สัมฺมาสะติ
ความระลึกชอบ
(๘) สัมฺมาสะมาธิ
ความตั้งจิตชอบ
อะยัง โข สา ภิกฺขะเว มัชฺฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทฺธา
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักฺขุกะระณี
กระทำดวงตา คือ
ญาณะกะระณี
กระทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ
อะภิญฺ ญายะ
เพื่อความรู้ยิ่ง
สัมฺโพธายะ
เพื่อความรู้ดี
นิพฺพานายะ สังวัตฺตติ
เพื่อความดับ
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขัง อริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ก็นี้แล ของจริงแห่งอริยบุคคล คือ ทุกข์
ชาติปิ ทุกฺขา
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกฺขา
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมฺปิ ทุกฺขัง
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะ ปะริเทวะ ทุกฺขะ โทมะนัสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขา
แม้ความโศก ความรำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปฺปิเยหิ สัมฺปะโยโค ทุกฺโข
ความประสบกับสิ่ง ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปฺปะโยโค ทุกฺโข
ความพลัดพราก จากสิ่งที่เป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์

ยัมฺปิจฺฉัง นะ ละภะติ ตัมฺปิ ทุกฺขัง 
 มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั้น ก็เป็นทุกข์
สังฺขิตฺเตนะ ปัญฺจุปาทานักฺขันฺธา ทุกฺขา
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันข์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ก็นี้แล ของจริงแห่งอริยบุคคล คือ เหตุให้ทุกข์ เกิดขึ้น
ยายัง ตัณหา
ความทะยานอยากนี้ใด
โปโนพฺภะวิกา
ทำความเกิดอีก
นันฺทิราคะ สะหะคะตา
เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
ตัตฺระ ตัตฺราภินันฺทินี 
 เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ
เสยฺยะถีทังฯ
ได้แก่สิ่งเหล่านี้
กามะตัณฺหา
ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ ใคร่
ภะวะตัณฺหา
ความทะยานอยากในความมี ความเป็น
วิภะวะตัณฺหาฯ
ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ก็นี้แล ของจริงแห่งอริยบุคคล คือความดับทุกข์
โย ตัสฺสาเยวะ ตัณฺหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
ความดับ โดยไม่ติด ย่อมอยู่ได้โดยไม่เหลือ แห่งตัณหานั้น นั่นแหละใด
จาโค
ความสละตัณหานั้น
ปะฏินิสฺสัคฺโค 
 ความวาง ตัณหานั้น
มุตฺติ 
 ความปล่อย ตัณหานั้น
อะนาละโย
ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้น
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ก็นี้แล ของจริงแห่งอริยบุคคล คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังฺคิโก มัคฺโค
ทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง
เสยฺยะถีทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
(๑) สัมฺมาทิฏฺ ฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ
(๒) สัมฺมาสังฺกัปฺโป
ความดำริชอบ
(๓) สัมฺมาวาจา 
 วาจาชอบ
(๔) สัมฺมากัมฺมันฺโต
การงานชอบ
(๕) สัมฺมาอาชีโว
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
(๖) สัมฺมาวายาโม
ความเพียรชอบ
(๗) สัมฺมาสะติ
ความระลึกชอบ
(๘) สัมฺมาสะมาธิฯ
ความตั้งจิตชอบ
อิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี้ทุกข์อริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺ เญยฺยันฺติ เม ภิกฺขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺญาตันฺติ
เม ภิกฺขะเว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้ว
อิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว
ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง
อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา
อุทะปาทิ อาโลโก อุทปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจัง ปะหาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย
ตังโข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อริยะสัจฺจัง ปะหินันฺติ เม
ภิกฺขะเว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้ละเสียแล้ว
อิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว
ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง
อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ
อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคย ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี้ ทุกขนิโรธ อริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง สัจฺฉิกาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล ควรทำใหัแจ้ง
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง
สัจฺฉิกะตันติ เม ภิกฺขะเว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล
อันเราได้กระทำใหัแจ้งแล้ว
อิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา
อะริยะสัจฺจัง ภาเวตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ นั้นแล ควรให้เจริญขึ้น

ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา
อะริยะสัจฺจัง ภาวิตันฺติ เม ภิกฺขะเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิ ปทาอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้เจริญแล้ว
ยาวะกีวัญฺจะ เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ
อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปริวัฏฺฏัง ทฺวาทะสาการัง
ยะถาภูตัง ญาณะทัสฺสนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว
เนวะ ตาวาหัง ภิกฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสฺสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสฺสายะ อนุตฺตะรัง สัมฺมาสัมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทโธ ปัจฺจัญฺ ญาสิงฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นที่ยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น
ยะโต จะ โข เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปริวัฏฺฏัง ทฺวาทะสาการัง ยถาภูตัง ญาณะทัสฺสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว

อะถาหัง ภิกฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก
สะพฺรัหฺมะเก สัสฺสะมะณะพฺราหฺมะณิยา
ปะชายะ สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตะรัง สัมฺมาสมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทฺโธ ปัจฺจัญฺญาสิงฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เรายืนยันตนได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นที่ยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วย เทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์
ญาณัญฺจะ ปะนะ เม ทัสฺสะนัง อุทะปาทิ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
อะกุปฺปา เม วิมุตติ อะยะมันฺติมา ชาติ นัตฺถิทานิ ปุนัพฺภะโวติ
ว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
อิทะมะโวจะ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว
อัตฺตะมะนา ปัญฺจะวัคฺคิยา ภิกฺขู
พระภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี
ภะคะวะโค ภาสิตัง อภินันฺทุง
เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมัสฺมิญฺจะ ปะนะ เวยฺยากะระณัสฺมิง ภัญฺญะ มาเน
ก็แลเมื่อไวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
อายัสฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมฺมะจักฺขุง อุทะปาทิ
จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว
แก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ
ยังฺกิญฺจิ สะมุทะยะธัมฺมัง สัพฺพันฺตัง นิโรธะธัมฺมันฺติ
ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีอันดับไปเป็นธรรมดา
ปะวัตฺติเต จะ ภะคะวะตา ธัมฺมะจักเก
ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว
ภุมฺมา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เหล่าภุมมเทพดา ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

เอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมฺมะจักฺกัง
ปะวัตฺติตัง อัปฺปะฏิวัตฺติยัง สะมะเณนะ วา
พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ
วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินฺติ

ว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้เป็นไปแล้ว ในป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมือง
พาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใครๆ
ในโลกยังไม่ให้เป็นไปได้แล้ว ดังนี้

ภุมฺมานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา จาตุมฺมะหาราชิกา
เทวา สัทฺทะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

จาตุมฺมะหาราชิกานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา
ตาวะติงสา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ยามา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว
ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

ยามานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ตุสิตา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามะแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

ตุสิตานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา นิมฺมานะระตี เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว
ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
นิมฺมานะระตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ปะระนิมฺมิตะวะสะวัตตี
เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ปะระนิมฺมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา พรัมมะกายิกา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

เอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมฺมะจักฺกัง ปะวัตฺติตัง อัปฺปะฏิวัตฺติยัง
สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา
พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินฺติ

ว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ในป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม แลใครๆ ในโลกยังไม่ให้เป็นไปได้แล้ว ดังนี้

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตฺเตนะ ยาวะ
พฺรัหฺมะโลกา สัทฺโท อัพฺภุคฺคัจฺฉิฯ

โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้

อะยัญฺจะ ทะสะสะหัสฺสี โลกะธาตุ
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้
สังฺกัมฺปิ สัมฺปะกัมฺปิ สัมฺปะเวธิฯ
ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป

อัปฺปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏ แล้วในโลก

อะติกฺกัมฺเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง
ล่วงเทวานุภาพของเทพดาทั้งหลายเสียหมด

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงเปล่งอุทาน

อัญญฺาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญ / อัญญฺาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญ ติฯ 
 ว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ / โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ

อิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสสะ อัญญฺาโกณฺฑัญฺโญ
เตฺววะ นามัง อะโหสีติ.

เพระเหตุนั้น นามว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล
_________________________________________________